น้ำเสียฟุกุชิมะไร้ผลกระทบคนไทยตกใจแพร็บเดียว
การปล่อยน้ำปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีที่บำบัดแล้ว จากโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟุกุชิมะของญี่ปุ่น ลงสู่มหาสมุทรแปซิฟิก กำลังกลายเป็นประเด็นถกเถียงและมีปฏิกิริยาต่อต้าน ทั้งจากคนญี่ปุ่นเอง และประเทศเพื่อนบ้าน อย่างเกาหลีใต้ หรือฮ่องกง จากออกมาคัดค้านเพราะไม่เห็นด้วย ขณะเดียวกันเพื่อนบ้านอย่าง “จีน” ก็ได้ออกประกาศสั่งห้ามนำเข้าอาหารทะเลจากญี่ปุ่น อย่างเป็นทางการแล้ว
ขณะที่ประเทศไทยเอง ต่างนิยมชมชอบกับอาหารญี่ปุ่นกันเป็นจำนวนไม่น้อย จนทำให้ร้านอาหารสไตล์ญี่ปุ่นเกิดขึ้นเป็นดอกเห็ด โดยเฉพาะประเภทปลาดิบ และอาหารทะเล ที่บางร้านถึงกับโฆษณาว่าวัตถุดิบอาหารทะเลนั้นสั่งตรงมาจากญี่ปุ่นโดยตรง ซึ่งเหตุการณ์การปล่อยน้ำที่บำบัดแล้วจะทำให้คนไทยสะดุ้งสะเทือนมากแค่น้อยเพียงใดคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง?
“ฐนิวรรณ กุลมงคล”นายกสมาคมภัตตาคารไทย บอกว่า สถานการณ์ที่เกิดขึ้นอาจทำให้คนไทยหยุดชะงักการบริโภคอาหารทะเลจากญี่ปุ่นไปชั่วคราวบ้าง เพราะวิตกว่าจะมีสารเคมีตกค้างหรือไม่ แต่ก็เชื่อได้ว่าอีกไม่นานก็จะกลับมาบริโภคเหมือนเดิม โดยอาหารส่วนใหญ่ที่นำเข้าจากญี่ปุ่นเป็นอาหารดิบ เช่น ปลาแซลมอล เป็นต้น ซึ่งคนที่กินอาหารประเภทนี้ส่วนใหญ่เป็นคนที่มีกำลังซื้อ ก็อาจกลัวบ้างในช่วงแรก แต่ก็จะกลับมากินตามปกติเหมือนเดิม ส่วนร้านอาหารญี่ปุ่นบางแห่งไม่ได้นำเข้าวัตถุจากญี่ปุ่นอยู่แล้ว เพราะยังมีแหล่งวัตถุอีกหลายประเทศที่เข้าไทยเช่นกัน
อย่างไรก็ตามตนยังมีความเชื่อมั่นต่อรัฐบาลญี่ปุ่นว่า น้ำที่ปล่อยลงทะเลผ่านการบำบัดอย่างดีและได้มาตรฐานแล้ว เพราะการปล่อยน้ำเสียลงทะเลไม่ได้ส่งผลกระทบต่อสัตว์น้ำ แต่ยังส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และประชาชน ดังนั้นหากไม่ปลอดภัยจริงรัฐบาลคงไม่ทำ ซึ่งญี่ปุ่นขึ้นขึ้นชื่อเรื่องความมีวินัย ความรับผิดชอบสูง นอกจากนั้นจากการหารือกับเจ้าของร้านอาหารญี่ปุ่นในไทยแห่งหนึ่งซึ่งเจ้าของร้านเป็นคนญี่ปุ่น ได้ถ่ายทอดอย่างมั่นใจว่า ตัวเค้าเองมั่นใจในการตัดสินใจของรัฐบาลและเชื่อมั่นปลอดภัยของอาหารทะเลที่นำเข้าจากญี่ปุ่น
ด้าน “วิศิษฐ์ ลิ้มลือชา” รองประธานกรรมการหอการค้าไทยและนายกสมาคมการค้าอาหารอนาคตไทย มองว่า ไม่กระทบต่อการนำเข้าอาหารทะเลจากประเทศญี่ปุ่นมาไทย เนื่องจากการนำเข้าอาหารทะเลเข้ามาในไทย ต้องผ่านการตรวจสอบ และรับรองจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรืออยคำพูดจาก สล็อตเว็บตรง. และกรมประมงก่อน และล่าสุดกรมประมงได้อออกมาประกาศเพิ่มความเข้มงวด โดยยกระดับการตรวจติดตามเฝ้าระวังสุ่มตัวอย่างอาหารทะเลที่นำเข้าจากแผนปฏิบัติงานประจำปี เน้นการสุ่มตัวอย่างอาหารทะเลที่นำเข้าจากเมืองที่มีความเสี่ยง ที่อยู่ใกล้เคียงพื้นที่ที่เกิดอุบัติเหตุทางนิวเคลียร์ เช่น โตเกียว ฟุกุชิมะ ชิบะ กุมมะ โทจิงิ อิบารากิ มิยางิ นีงะตะ นากาโนะ ไซตามะ และร่วมมือกับสำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ตรวจวัดปริมาณกัมมันตภาพรังสีในตัวอย่างสัตว์น้ำที่นำเข้าอย่างเข้มงวด เพื่อไม้ให้มีการนำเข้าอาหารที่มีการปนเปื้อนสารกัมมันตรังสีในระดับที่ไม่ปลอดภัย
นอกจากนี้กรมประมงได้ออกมาชี้แจงว่า จากการตรวจสอบจนถึงปัจจุบัน พบค่าการปนเปื้อนกัมมันตรังสีไม่เกินมาตรฐานตามที่กำหนดในประกาศกระทรวงสาธารณสุข มีความมั่นใจในระดับหนึ่ง แต่หากการนำเข้าสัตว์อาหารทะเลสด หรืออาหารทะเลแช่แข็งจากประเทศญี่ปุ่นมีปัญหาจริง ๆ ก็เชื่อว่า ไม่น่าส่งผลกระทบอะไรมากนัก เพราะว่าไทยมีสัดส่วนการนำเข้าอาหารทะเลฯ จากญี่ปุ่น มีเพียง 5% อยู่ในอันดับ 6 รองจากนอเวย์ อินเดีย ไต้หวัน จีน เวียดนาม และที่ผ่านมาเคยมีประเด็นข้อกังวลเกี่ยวกับน้ำเสียปนเปื้อนในอาหารทะเล หลังจากญี่ปุ่น เกิดเหตุการณ์สึนามิถล่มโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่งเป็นช่วงที่ญี่ปุ่นเกิดสินามิ ทำให้มีความกังวลเรื่องสารปนเปื้อนในทะเล ตรวจสอบการนำเข้าอาหารทะเลแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไร และครั้งนี้มีการตรวจสอบเข้มมาตั้งแต่ต้นทาง จึงทำให้น่ากังวลน้อยกว่าครั้งที่ผ่านมาอีก
ขณะที่ “อารดาเฟื่องทอง” รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ บอกว่า เบื้องต้นยังไม่ได้รับรายงานผลกระทบเกี่ยวกับการส่งออกสินค้าของไทยเนื่องจากสินค้าอาหารทะเลที่ไทยส่งออกส่วนใหญ่จะใช้วัตถุดิบในประเทศไม่ได้มีการนำเข้าวัตถุดิบจากญี่ปุ่นมาแปรรูปเพื่อส่งออกแต่อย่างใดแต่จะติดตามดูแลเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด
ส่วน “ธนโชติ บุญมีโชติ” กรรมการผู้จัดการกลุ่มธุรกิจกุ้ง บริษัท ไทยยูเนี่ยน กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) หรือ ทียู ผู้ผลิตและจำหน่ายอาหารทะเลแช่แข็ง แบรนด์ คิวเฟรช กล่าวว่า บริษัทไม่ได้รับผลกระทบจากสารกัมมันตภาพรังสีในประเทศญี่ปุ่น เนื่องจากมีการสต๊อกสินค้าที่ปัจจุบันนำเข้าวัตถุดิบอาหาร ประเภทปลาแช่แข็งจากญี่ปุ่น 30% ไว้ล่วงหน้าถึงสิ้นปี แต่ในช่วงไตรมาส 4 หากได้รับผลกระทบจากความเชื่อมั่นผู้บริโภค ก็อาจพิจารณาลดความเสี่ยงด้วยการหาตลาดใหม่หรือเปลี่ยนนำเข้าอาหารประเภทอื่นทดแทน
ขณะที่แผนการทำตลาด คิวเฟรช ในไทยปีนี้จะเร่งการเติบโตให้มีรายได้ 230-240 ล้านบาท ในสิ้นปี จากครึ่งปีแรกมีรายได้แล้ว 114 ล้านบาท โดยมาจากยอดขายประเภทกุ้ง 42% และหลังจากนี้จะขยายไปยังสินค้าอื่น เช่น ปลากระพง ไข่กุ้ง ที่เป็น 1 ใน 3 ของสินค้าที่ขายดี รวมถึงสินค้านำเข้าอื่นๆมากขึ้น พร้อมกับขยายช่องทางขายใหม่ๆ อาทิ ร้านอาหาร โรงแรม และค้าปลีกสมัยใหม่ที่ปัจจุบันมีช่องทางขายดังกล่าวถึง 96% ซึ่งช่วยให้ผู้ประกอบการร้านอาหารคุมต้นทุนได้ ประหยัดเวลา รับประทานได้เลย ส่วนในออนไลน์มีสัดส่วนการขายที่ 4% ล่าสุด ได้เปิดตัวเมนูกุ้งชุบแป้งซีรีส์ใหม่ 4 เมนู และดึง แบงก์-ธิติ มาเป็นพรีเซ็นเตอร์ เพื่อขยายฐานลูกค้าคนรุ่นใหม่อายุ 30-50 ปี ซึ่งสามารถรับประทานได้ทุกโอกาส สะดวก และทอดรับประทานได้ง่าย และเร็วๆนี้จะเปิดตัว กุ้งดองซีอิ๊ว โดยมุ่งตอบโจทย์ผู้บริโภคให้ครอบคลุมทุกกลุ่มสินค้าที่เป็นอาหารทะเล รองรับตลาดอาหารทะเลแช่แข็งพร้อมรับประทานที่ไม่รวมในแมคโคร เซเว่นอีเลฟเว่นที่ปัจจุบันมีมูลค่ารวม 2,000 ล้านบาท คาดว่าปีนี้เติบโต 4-5%.